ข้อมูลสภาพทั่วไป

 

1.1 ที่ตั้ง อาณาเขต ขอบเขตการปกครอง

-ที่ตั้ง อำเภอป่าติ้ว  จังหวัดยโสธร 

ตั้งอยู่ทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทย ห่างจากกรุงเทพมหานครโดยทางรถยนต์ประมาณ  531  กิโลเมตร  (ทางหลวงแผ่นดิน  หมายเลข 1, 2, 202)   และอยู่ในกลุ่มจังหวัดภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง  2  (อุบลราชธานี ศรีสะเกษ ยโสธร  อำนาจเจริญ) 

ตั้งอยู่ทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือของจังหวัดยโสธร มีทางหลวงแผ่นดินสาย ๒๐๒ (ถนนอรุณประเสริฐ)  สายยโสธร – อำนาจเจริญ ผ่านตัวอำเภอระยะห่างจากจังหวัดยโสธร ๒๘ กิโลเมตร      ห่างจากกรุงเทพฯ ระยะทาง ๕๙๙ กิโลเมตร

ขนาดพื้นที่  จังหวัดยโสธร มีพื้นที่  4,161.444  ตารางกิโลเมตร  หรือ 2,600,902.5 ไร่   อำเภอป่าติ้ว พื้นที่  308  ตารางกิโลเมตร  หรือ 192,500 ไร่   ระยะทาง  28 กิโลเมตร

 

ป่าติ้ว2

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

ภาพที่       แสดงที่ตั้งและขอบเขตของอำเภอป่าติ้ว

 

 

- อาณาเขต

          ทิศเหนือ             จดอำเภอกุดชุม อำเภอเลิงนกทา จังหวัดยโสธร

          ทิศใต้                จดอำเภอคำเขื่อนแก้ว จังหวัดยโสธร

ทิศตะวันออก        จดอำเภอเมืองอำนาจเจริญ อำเภอหัวตะพาน  จังหวัดอำนาจเจริญ

          ทิศตะวันตก         จดอำเภอเมืองยโสธร  จังหวัดยโสธร

 

- การแบ่งเขตการปกครอง  แบ่งเขตการปกครองออกเป็น ๕ ตำบล ๕๗ หมู่บ้าน ดังนี้

          ๑. ตำบลกระจาย                   ประกอบไปด้วย   ๑๓     หมู่บ้าน

          ๒. ตำบลโคกนาโก         ประกอบไปด้วย   ๑๖     หมู่บ้าน

          ๓. ตำบลเชียงเพ็ง ประกอบไปด้วย     ๗     หมู่บ้าน

๔. ตำบลโพธิ์ไทร           ประกอบไปด้วย   ๑๒     หมู่บ้าน

          ๕. ตำบลศรีฐาน           ประกอบไปด้วย     ๙     หมู่บ้าน

 

ตารางที่       แสดงเขตพื้นที่การปกครองอำเภอป่าติ้ว

ที่

อำเภอ

จำนวน

ตำบล

หมู่บ้าน

อบจ.

เทศบาลนคร

เทศบาลเมือง

เทศบาลตำบล

อบต.

1

ป่าติ้ว

5

57

-

-

-

1

5

 

ภาพที่       ขอบเขตการปกกครองจากAgri-Map

ปัจจุบันอำเภอป่าติ้ว มีทั้งหมด  5 ตำบล  57  หมู่บ้าน

ที่มา  http://agri-map-online.moac.go.th/

 

1.2 ลักษณะภูมิประเทศ (Topographic)

          -   ภูมิประเทศ

                   ลักษณะภูมิประเทศ พื้นที่ทั่วไปเป็นที่ราบสูงและลุ่มๆ ดอน ๆ ดินเป็นดินร่วนปนทราย  ทิศใต้เป็นที่ลุ่ม ทิศเหนือเป็นป่าโปร่ง  อยู่เหนือระดับน้ำทะเลปานกลาง 130 เมตร

 

-  พื้นที่ป่า

ป่าสงวนแห่งชาติ จำนวน 1 แห่ง คือ ป่าโคกนาโก

               ป่าบ้านนาดี (ครอบคลุมพื้นที่ ตำบลหนองหิน   อำเภอเมืองยโสธร, ตำบลโคกนาโก  ตำบลโพธิ์ไทรอำเภอป่าติ้ว

               ป่าดงใหญ่เชียงเครือ คำสร้างบ่อ ม่วงไข่ 

               ป่าชุมชนหนองขอนแก่น บ้านม่วงไข่ หมู่ที่ 8

ไม่มีภูเขา

 

ภาพที่       พื้นที่ป่าจากAgri-Map

ที่มา  http://agri-map-online.moac.go.th/#

 

 

-  ลักษณะทิศทาง ความลาดชัน

อำเภอป่าติ้ว ตั้งอยู่ทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือของจังหวัดยโสธร มีความลาดชันน้อย พื้นที่ส่วนใหญ่เป็นที่ราบสูง และมีพื้นที่ราบเรียบหรือราบเรียบสลับกับลักษณะพื้นที่แบบลูกคลื่นลอนลาดถึงลอนชัน ในพื้นที่ทำการเกษตรจะเกิดการชะล้างพังทลายสูญเสียหน้าดินต่ำสุด คือ พื้นที่ส่วนใหญ่มีการสูญเสียดินระหว่าง 0-4 ตันต่อไร่ต่อปี

 

          -ลักษณะดิน กลุ่มชุดดิน

ข้อมูลกลุ่มชุดดิน ความเหมาะสมของดินและคุณภาพดิน

ภาพที่      แผนที่แสดงกลุ่มชุดดินในเขตจังหวัดยโสธร

 

กลุ่มชุดดิน

                   กลุ่มชุดดินที่พบในพื้นอำเภอป่าติ้ว  จังหวัดยโสธร ซึ่งมีลักษณะและสมบัติที่แตกต่างกันกลุ่มชุดดินที่พบในพื้นที่แบ่งเป็น 12 กลุ่มชุดดิน และพื้นที่อื่นๆ  ดังภาพ กลุ่มชุดดินที่พบมากที่สุดในอำเภอป่าติ้ว  จังหวัดยโสธร  คือ  กลุ่มชุดดินที่ 35  มีเนื้อที่ประมาณ  72,943  ไร่  หรือ 28.49เปอร์เซ็นต์ของเนื้อที่อำเภอป่าติ้ว  กลุ่มชุดดินที่ 35         ดินพื้นที่ดอนเป็นลูกคลื่นลอนลาดเล็กน้อย  เกิดจากวัตถุต้นกำเนิดดินพวกตะกอนลำน้ำ หรือการสลายตัวผุพังอยู่กับที่ หรือการสลายตัวผุพังแล้วถูกเคลื่อนย้ายมาทับถมของวัสดุเนื้อหยาบที่ส่วนใหญ่มาจากหินตะกอน  เป็นดินลึก การระบายน้ำดีถึงดีปานกลาง ดินบนเป็นดินร่วนปนทราย ดินล่างเป็นดินร่วนเหนียวปนทราย  ดินมีสีน้ำตาล สีเหลืองหรือแดง และอาจพบจุดประสีต่าง ๆในชั้นดินล่าง  ความอุดมสมบูรณ์ต่ำ ปฏิกิริยาดินเป็นกรดเล็กน้อย   กลุ่มชุดดินที่พบรองลงมาคือ  กลุ่มชุดดินที่  40 มีเนื้อที่ประมาณ  57,651 ไร่  หรือ 22.51  เปอร์เซ็นต์ของเนื้อที่อำเภอป่าติ้ว  กลุ่มชุดดินที่ 40 ดินพื้นที่ดอนเป็นลูกคลื่นลอนลาดเล็กน้อยถึงลูกคลื่นลอนลาด  เกิดจากวัตถุต้นกำเนิดดินพวกตะกอนลำน้ำ หรือจากการสลายตัวผุพังอยู่กับที่ หรือจากการสลายตัวผุพังแล้วถูกเคลื่อนย้ายมาทับถมของพวกวัสดุเนื้อหยาบ  เป็นดินลึก  มีการระบายน้ำดี  เนื้อดินเป็นพวกดินร่วนหยาบ  มีสีน้ำตาล สีเหลืองหรือแดง และอาจพบจุดประสีต่าง ๆในดินล่าง ความอุดมสมบูรณ์ต่ำ ปฏิกิริยาดินเป็นกรดเล็กน้อยถึงเป็นกรดจัด เสี่ยงต่อการขาดแคลนน้ำได้ง่าย และการชะล้างพังทลายของหน้าดินบริเวณที่มีความลาดชันสูง

 

          กลุ่มชุดดินในอำเภอป่าติ้ว  จังหวัดยโสธร  และแยกแผนที่กลุ่มชุดดินเป็นรายตำบล ดังนี้

          1)กลุ่มชุดดินที่ 2

กลุ่มดินเหนียวลึกมาก ปฏิกิริยาดินเป็นกรดจัดมาก อาจพบจุดประสีเหลืองฟางข้าวของสารประกอบกำมะถันลึกกว่า 100 ซม. จากผิวดิน การระบายน้ำเลว ความอุดมสมบูรณ์ปานกลาง  ดินเป็นกรดจัดมาก ทำให้เกิดการตรึงธาตุอาหารและปลดปล่อยสารที่เป็นพิษต่อพืช โครงสร้างแน่นทึบ ดินแห้งแข็งและแตกระแหง ทำให้ไถพรวนยาก คุณภาพน้ำเป็นกรดจัดมาก ขาดแคลนแหล่งน้ำจืด และน้ำท่วมขังในฤดูฝน ทำความเสียหายกับพืชที่ไม่ชอบน้ำ

          2)กลุ่มชุดดินที่ 6

กลุ่มดินเหนียวลึกมากที่เกิดจากตะกอนลำน้ำ ปฏิกิริยาดินเป็นกรดจัดมากถึงเป็นกรดจัด การระบายน้ำเลวถึงค่อนข้างเลว ความอุดมสมบูรณ์ต่ำ   ความอุดมสมบูรณ์ต่ำ บางพื้นที่ดินเป็นกรดจัดมาก ขาดแคลนน้ำ และน้ำท่วมขังในฤดูฝน ทำความเสียหายกับพืชที่ไม่ชอบน้ำ

          3)กลุ่มชุดดินที่ 17

          ดินที่เกิดจากวัตถุต้นกำเนิดดินพวกตะกอนลำน้ำ  หรือจากการสลายตัวผุพังอยู่กับที่แล้วถูกเคลื่อนย้ายมาทับถมของวัสดุเนื้อหยาบ บางบริเวณเป็นนาดอน มีสภาพพื้นที่เป็นลูกคลื่นลอนลาดเล็กน้อย เนื้อดินเป็นกลุ่มดินร่วนละเอียด  ดินลึกมากถึงลึก การระบายน้ำค่อนข้างเลวถึงดีปานกลาง ปฏิกิริยาดินเป็นกรดจัดหรือเป็นกรดเล็กน้อย ดินบนสีน้ำตาลปนเทา  มีเนื้อดินค่อนข้างเป็นทราย และดินล่างสีเทา  มีจุดประสีน้ำตาล  สีเหลือง หรือสีแดง  ความอุดมสมบูรณ์ต่ำ

          4)กลุ่มชุดดินที่ 18

          ดินพื้นที่ลุ่มราบเรียบถึงค่อนข้างราบเรียบ  เกิดจากวัตถุต้นกำเนิดดินพวกตะกอนลำน้ำ หรือจากการสลายตัวผุพังอยู่กับที่แล้วถูกเคลื่อนย้ายมาทับถมของวัสดุเนื้อหยาบ  บางบริเวณเป็นนาดอน  มีสภาพพื้นที่เป็นลูกคลื่นลอนลาดเล็กน้อย  เนื้อดินเป็นกลุ่มดินร่วนละเอียดและเป็นดินเหนียวช่วง  50  ซม.ลงไป  ดินลึกมากถึงลึก  การระบายน้ำค่อนข้างเลว  ปฏิกิริยาดินเป็นกลางหรือเป็นกรดเล็กน้อย  ดินบนค่อนข้างเป็นทราย มีสีเทา  มีจุดประสีน้ำตาล  สีเหลือง หรือสีแดง ดินมีความอุดมสมบูรณ์ต่ำ บริเวณเป็นนาดอนเสี่ยงต่อการขาดแคลนน้ำในระยะฝนทิ้งช่วง

          5)กลุ่มชุดดินที่ 22

          ดินพื้นที่ลุ่มราบเรียบถึงค่อนข้างราบเรียบ เกิดจากวัตถุต้นกำเนิดดินพวกตะกอนลำน้ำ หรือจากการสลายตัวผุพังอยู่กับที่แล้วถูกเคลื่อนย้ายมาทับถมของวัสดุเนื้อหยาบ บางบริเวณมีสภาพพื้นที่เป็นลูกคลื่นลอนลาดเล็กน้อย  เนื้อดินร่วนปนทราย ดินลึกมาก การระบายน้ำค่อนข้างเลว ปฏิกิริยาดินเป็นกรดจัดถึงเป็นกลาง   ดินมีสีน้ำตาลปนเทา  มีจุดประสีน้ำตาล สีเหลือง หรือสีแดง เนื้อดินหยาบ ความอุดมสมบูรณ์ต่ำ

          6)กลุ่มชุดดินที่ 24

          ดินพื้นที่ลุ่มราบเรียบถึงค่อนข้างราบเรียบ  เกิดจากวัตถุต้นกำเนิดดินพวกตะกอนลำน้ำ  หรือจากการสลายตัวผุพังอยู่กับที่แล้วถูกเคลื่อนย้ายมาทับถมของวัสดุเนื้อหยาบ  บางบริเวณมีสภาพพื้นที่เป็นลูกคลื่นลอนลาดเล็กน้อย  เนื้อดินทรายปนดินร่วน ดินลึกมาก การระบายน้ำค่อนข้างเลว ปฏิกิริยาดินเป็นกรด  ดินมีความอุดมสมบูรณ์ต่ำ  ดินบนมีสีน้ำตาลปนเทาและดินล่างมีเทา  มีจุดประสีน้ำตาล  สีเหลือง  มีเนื้อดินเป็นดินทรายหนามากกว่า 50 เซนติเมตร 

          5)กลุ่มชุดดินที่ 35

          ดินพื้นที่ดอนเป็นลูกคลื่นลอนลาดเล็กน้อย  เกิดจากวัตถุต้นกำเนิดดินพวกตะกอนลำน้ำ หรือการสลายตัวผุพังอยู่กับที่ หรือการสลายตัวผุพังแล้วถูกเคลื่อนย้ายมาทับถมของวัสดุเนื้อหยาบที่ส่วนใหญ่มาจากหินตะกอน  เป็นดินลึก การระบายน้ำดีถึงดีปานกลาง ดินบนเป็นดินร่วนปนทราย ดินล่างเป็นดินร่วนเหนียวปนทราย  ดินมีสีน้ำตาล สีเหลืองหรือแดง และอาจพบจุดประสีต่าง ๆในชั้นดินล่าง  ความอุดมสมบูรณ์ต่ำ ปฏิกิริยาดินเป็นกรดเล็กน้อย

          8)กลุ่มชุดดินที่ 38

          ดินพื้นที่ดอนเป็นลูกคลื่นลอนลาดเล็กน้อย  เกิดจากวัตถุต้นกำเนิดดินพวกตะกอนลำน้ำ  พบบนสันดินริมน้ำ  หรือที่ราบตะกอนน้ำพา เนื้อดินเป็นดินร่วนปนทราย บางบริเวณมีเนื้อดินสลับ  เป็นดินลึก  มีการระบายน้ำดีถึงดีปานกลาง  สีน้ำตาลหรือสีน้ำตาลปนเหลือง  อาจพบจุดประสีเทาและสีน้ำตาลในดินล่าง  ความอุดมสมบูรณ์ปานกลาง ปฏิกิริยาดินเป็นกรดเล็กน้อย ช่วงฤดูฝนเสี่ยงต่อน้ำท่วมบ่าในบางปี 

          9)กลุ่มชุดดินที่ 40

          ดินพื้นที่ดอนเป็นลูกคลื่นลอนลาดเล็กน้อยถึงลูกคลื่นลอนลาด  เกิดจากวัตถุต้นกำเนิดดินพวกตะกอนลำน้ำ หรือจากการสลายตัวผุพังอยู่กับที่ หรือจากการสลายตัวผุพังแล้วถูกเคลื่อนย้ายมาทับถมของพวกวัสดุเนื้อหยาบ  เป็นดินลึก  มีการระบายน้ำดี  เนื้อดินเป็นพวกดินร่วนหยาบ  มีสีน้ำตาล สีเหลืองหรือแดง และอาจพบจุดประสีต่าง ๆในดินล่าง ความอุดมสมบูรณ์ต่ำ ปฏิกิริยาดินเป็นกรดเล็กน้อยถึงเป็นกรดจัด เสี่ยงต่อการขาดแคลนน้ำได้ง่าย และการชะล้างพังทลายของหน้าดินบริเวณที่มีความลาดชันสูง

          10)กลุ่มชุดดินที่ 41

          ดินพื้นที่ดอนเป็นลูกคลื่นลอนลาดเล็กน้อย  เกิดจากการสลายตัวผุพังอยู่กับที่ หรือจากการสลายตัวผุพังแล้วถูกเคลื่อนย้ายมาทับถม ของพวกวัสดุเนื้อหยาบ หรือจากวัตถุต้นกำเนิดดินพวกตะกอนลำน้ำหรือวัตถุน้ำพาจากบริเวณที่สูง วางทับอยู่บนชั้นดินร่วนหยาบหรือร่วนละเอียด เป็นดินลึก มีการระบายน้ำดีถึงดีปานกลาง  เนื้อดินช่วงที่ลึกกว่า 50 เซนติเมตรลงไปเป็นดินทรายหนา สีดินเป็นสีน้ำตาลอ่อน หรือสีเหลืองปนสีน้ำตาล พบจุดประสีต่าง ๆในดินชั้นล่าง ดินมีความอุดมสมบูรณ์ต่ำ ปฏิกิริยาดินเป็นกรดจัดถึงเป็นกรดเล็กน้อย  จึงเสี่ยงต่อการขาดแคลนน้ำได้ง่ายและบริเวณที่มีความลาดชันสูงจะเกิดการชะล้างพังทลายได้

 

          11)กลุ่มชุดดินที่ 49

          ดินพื้นที่ดอนเป็นลูกคลื่นลอนลาดเล็กน้อย   เกิดจากวัตถุต้นกำเนิดดินพวกตะกอนลำน้ำ  หรือจากการสลายตัวผุพังแล้วถูกเคลื่อนย้ายมาทับถมของวัตถุต้นกำเนิดดินที่มาจากวัสดุเนื้อค่อนข้างหยาบ  เป็นดินตื้นถึงตื้นมากถึงชั้นลูกรัง   มีการระบายน้ำดีปานกลาง  เนื้อดินเป็นดินร่วนปนทราย  ดินล่างเป็นดินเหนียวปนลูกรังหรือเศษหินทราย ภายในความลึก 50 ซม. สีดินเป็นสีน้ำตาล  หรือสีเหลือง  มีจุดประสีน้ำตาล  สีแดง  และมีศิลาแลงอ่อนปะปนอยู่จำนวนมาก ดินมีความอุดมสมบูรณ์ต่ำ  ปฏิกิริยาดินเป็นกรดจัดมากถึงกรดเล็กน้อย มีอุปสรรคต่อการเขตกรรม

          12)กลุ่มชุดดินที่ 62

          พื้นที่ลาดชันเชิงซ้อน  ประกอบด้วยพื้นที่ภูเขาและเทือกเขาที่มีความลาดชันเกิน  35 เปอร์เซ็นต์   ดินตื้นเป็นส่วนใหญ่  และมีหินพื้นโผล่กระจายในพื้นที่มากกว่า  10  เปอร์เซ็นต์ ลักษณะและสมบัติของดินที่พบไม่แน่นนอนมีทั้งดินลึกและตื้น  ความอุดมสมบูรณ์ของดินแตกต่างกันไปแล้วแต่ชนิดของวัตถุต้นกำเนิดดินในบริเวณนั้น

          13)พื้นที่น้ำ  ( W )  

 

  

 

 

 

ตารางที่         รวมข้อมูลกลุ่มชุดดินอำเภอป่าติ้ว  จังหวัดยโสธร

       

รหัส

คำอธิบาย

 พื้นที่ (ไร่)

 

คิดเป็นร้อยละ

    14.86

 

2

กลุ่มชุดดินที่2

    38,040.75

   

      5.82

 

6

กลุ่มชุดดินที่6

    14,896.43

   

    18.23

 

17

กลุ่มชุดดินที่17

    46,684.97

   

      0.00

 

18

กลุ่มชุดดินที่18

              0.06

   

      5.66

 

22

กลุ่มชุดดินที่22

    14,483.08

   

      0.40

 

24

กลุ่มชุดดินที่24

      1,016.96

   

    28.49

 

35

กลุ่มชุดดินที่35

    72,943.79

   

      0.96

 

38

กลุ่มชุดดินที่38

      2,453.30

   

    22.52

 

40

กลุ่มชุดดินที่40

    57,651.10

   

      0.55

 

41

กลุ่มชุดดินที่41

      1,414.65

   

      2.19

 

49

กลุ่มชุดดินที่49

      5,616.20

   

      0.04

 

62

กลุ่มชุดดินที่62

          114.44

   

      0.28

 

W

แหล่งน้ำ

          711.29

   

  100.00

     

  256,027.02

             
   

    10.49

 

รวม

โพธิ์ไทร

    26,868.48

   

    42.09

 

 

กระจาย

  107,760.71

   

    29.36

 

 

โคกนาโก

    75,175.86

   

      8.66

 

 

เชียงเพ็ง

    22,182.68

   

      9.39

 

 

ศรีฐาน

    24,039.29

   

  100.00

     

  256,027.02

 

 

 

1.3 สภาพภูมิอากาศ

          - ลักษณะภูมิอากาศ/ฤดูกาล

                   ฤดูร้อน  เริ่มจากเดือนมีนาคม – พฤษภาคม อุณหภูมิเฉลี่ย ๓๓ – ๓๘   องศาเซลเซียล

                   ฤดูฝน    เริ่มต้นจากเดือนพฤษภาคม – กันยายน ปกติมีประมาณน้ำฝนพอเพียงกับการเกษตรตามฤดูกาล

                   ฤดูหนาว  เริ่มต้นเดือนตุลาคม – กุมภาพันธ์ ปีถัดไป

 

          - อุณหภูมิและความชื่นสัมพันธ์

อุณหภูมิเฉลี่ย ๓๓ – ๓๘   องศาเซลเซียล

 

1.4 เส้นทางคมนาคม

          - ถนนหลวงสายหลัก/สายรอง

                   อำเภอป่าติ้ว มีเส้นทางการคมนาคม ประกอบด้วยทางหลวงแผ่นดิน หมายเลข ๒๐๒ (ถนนอรุณประเสริฐ)เส้นทางหลักเชื่อมระหว่าง อำเภอป่าติ้ว – อำเภอเมืองยโสธร และระหว่าง อำเภอป่าติ้ว – อำเภอเมืองอำนาจเจริญ เป็นถนนลาดยาง 2 ช่องจราจร ส่วนถนนเชื่อมระหว่าง ตำบล หมู่บ้าน เป็นถนนลาดยาง 2 ช่องจราจร เช่นกัน

                   การคมนาคม จากอำเภอป่าติ้ว ไปยัง จังหวัดยโสธร มีรถประจำทาง เป็นรถสองแถวที่วิ่งตามหมู่บ้านเข้าตัวเมืองยโสธร และมีรถตู้ที่วิ่งระหว่างจังหวัดยโสธร กับจังหวัดอำนาจเจริญ ซึ่งค่าบริการ 60- 100 บาท (ข้อมูลเดือนพฤษภาคม 2562) อีกทั้งอำเภอป่าติ้ว เป็นเส้นทางเดินรถเพื่อเข้ากรุงเทพมหานคร ทั้งจากสาย อำเภอเขมราฐ จังหวัดอุบลราชธานี –กรุงเทพมหานคร สายอำนาจเจริญ – กรุงเทพมหานคร และสายมุกดาหาร – ระยอง – เชียงใหม่

 

 

 

 

 

 

ภาพที่          แสดงถนนหลวงสายหลัก/สายรอง

 

 

 

          - ถนนหลวงเชื่อมต่อระหว่างภาค  จังหวัด  อำเภอ

รถยนต์ ใช้ทางหลวงหมายเลข 1 (ถนนพหลโยธิน) ถึงจังหวัดสระบุรีจึงเลี้ยวขวาเข้าทางหลวงหมายเลข 2 (ถนนมิตรภาพ) ผ่านจังหวัดนครราชสีมาไปทางอำเภอพิมาย ผ่านอำเภอหนองสองห้อง และอำเภอบ้านไผ่ จังหวัดขอนแก่น แล้วจึงแยกเข้าทางหลวงหมายเลข 23 ผ่านอำเภอบรบือ จังหวัดมหาสารคาม และจังหวัดร้อยเอ็ด อำเภอธวัชบุรี อำเภอเสลภูมิ แล้วจึงถึงจังหวัดยโสธร รวมระยะทางประมาณ 531 กิโลเมตร ใช้เวลาเดินทางประมาณ 7 ชั่วโมง 

รถโดยสารประจำทาง จากกรุงเทพฯ มีรถโดยสารธรรมดาและรถโดยสารปรับอากาศ สายกรุงเทพฯ-ยโสธร ทุกวัน รายละเอียดสอบถามได้ที่ สถานีเดินรถสายตะวันออกเฉียงเหนือ ถนนกำแพงเพชร 2 โทร. 936-2852-66 

สำหรับผู้โดยสารโดยรถไฟหรือเครื่องบิน จะต้องลงที่จังหวัดอุบลราชธานี แล้วต่อรถยนต์มาลงที่ยโสธรอีก 99 กิโลเมตร

 

ภาพที่         แสดงถนนหลวงเชื่อมต่อระหว่างภาค  จังหวัด  อำเภอ

 

 

 

 

 

 

 

1.5 แหล่งน้ำและระบบชลประทาน

          - แหล่งน้ำธรรมชาติ แม่น้ำ ลำคลอง  หนอง  บึง

          -แหล่งน้ำมีลำน้ำสำคัญ ๒ สาย คือ ลำเซบายและลำน้ำโพง

                   ลำเซบาย เป็นแม่น้ำสายหลักสายหนึ่งของจังหวัดยโสธร  ที่ทอดยาวจากอำเภอเลิงนกทา ผ่านอำเภอไทยเจริญ  อำเภอป่าติ้ว  จังหวัดยโสธร  อำเภอหัวตะพาน  จังหวัดอำนาจเจริญ อำเภอเขื่องใน จังหวัดอุบลราชธานี  ทั้งสองฝั่งมีป่าไม้อุดมสมบูรณ์

                   ลำน้ำโพง เป็นอีกแหล่งน้ำหนึ่งที่มีความสำคัญของอำเภอป่าติ้ว โดยไหลผ่านตำบลกระจายและตำบลศรีฐานทั้งสองฝั่งมีป่าไม้อุดมสมบูรณ์

                   นอกจากนี้แล้วอำเภอป่าติ้ว มีหนองน้ำ กระจายอยู่ตามตำบล หมู่บ้าน  เช่น บ่อโจ้โก้  ตำบลศรีฐาน   เป็นอ่างเก็บน้ำพื้นที่กว้างขวาง  มีปลาหลายชนิดและมีความชุกชุม   อีกทั้งเป็นแหล่งทัศนียภาพที่สวยงามสำหรับพักผ่อนหย่อนใจของคนในพื้นที่

 

 

ตารางที่         แสดงแหล่งน้ำ

แหล่งน้ำ

แหล่งน้ำเพื่อการเกษตร

ครัวเรือน

ร้อยละ

แหล่งน้ำของตนเอง

658.00

41.94

    บ่อน้ำตื้น

260.00

36.57

    บ่อน้ำบาดาล

80.00

11.25

    สระน้ำ

371.00

52.18

แหล่งน้ำสาธารณะ

911.00

58.06

    บ่อบาดาล

11.00

1.07

    หนอง/สระ

211.00

20.49

    คลองชลประทาน

349.00

33.88

    แม่น้ำ

459.00

44.56

หมายเหตุ : ข้อมูลจำแนกตามที่อยู่ตามทะเบียนบ้าน

 

 

 

 

 

 

 

ภาพที่       แสดงแหล่งน้ำ

 

ภาพที่       แสดงแหล่งน้ำของตนเอง

 

 

 

 

 

ภาพที่       แสดงแหล่งน้ำสาธารณะ

 

จุดสูบน้ำด้วยไฟฟ้า

1.      ตำบลเชียงเพ็ง  จำนวน  3  จุด

จุดที่  1  หมู่ที่  7  ท่าตรงข้ามบ้านหนองเรือ

จุดที่  2  หมู่ที่  7  ท่าวัดป่าเชียงเพ็ง

จุดที่  3  หมู่ที่  2  ท่าวัดป่าเวฬุวัน

2.      ตำบลศรีฐาน  จำนวน  12 จุด

หมู่ที่  1  จำนวน  4  จุด

          จุดที่  1  ท่าทอย

          จุดที่  2  ท่ากระจาย

          จุดที่  3  ท่าร่องบ้านเดื่อ

          จุดที่  4  ท่าร่องไส้เดือน

หมู่ที่  3  จำนวน  3  จุด

          จุดที่  5  ท่าโนนโปง

          จุดที่  6  ท่าบ่อโจโก้

          จุดที่  7  ท่าร่องไผ่

หมู่ที่  4  จุดที่  8  ท่าวังปลาข่าย

หมู่ที่  5,7  (บ้านเตาไห) จุดที่  9  ท่าบ่อเปือย

หมู่ที่  8  จำนวน  3  จุด

          จุดที่  10  ท่าวัดป่าศิลาเลข

          จุดที่  11  ท่าปากน้ำเก่า

          จุดที่  12  ท่าห้วยไผ่

3.      ตำบลกระจาย  จำนวน  1  จุด  ท่าหนองแคน

รวมอำเภอป่าติ้ว มีจุดสูบน้ำด้วยไฟฟ้า  จำนวน  3  ตำบล 16 จุด